#1 tech recruiter in thailand

ทำไม? การทำงานใน Project ขนาดเล็ก ถึงดีกว่า Project ขนาดใหญ่

แน่นอนว่าอารมณ์ของคุณคงพลุ่งพล่าน เมื่อมีลูกค้าเสนอให้ทำงานสัก Project พร้อมค่าตอบแทนราว 20,000 30,000 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่านั้น แต่คุณควรหยุดคิดสักหน่อยว่ามันจะคุ้มค่าไหม เมื่อต้องแลกกับความยากที่ต้องแบกรับ บทความนี้คุณ Josef Cruz จะมาแชร์ประสบการณ์ที่เขาเคยเจอว่า ทำไม? การทำงานใน Project ขนาดเล็ก ถึงดีกว่า Project ขนาดใหญ่

หมายเหตุ บทความนี้เป็นเพียงประสบการณ์และความคิดเห็นส่วนตัวของ คุณ Josef Cruz เท่านั้น

คุณ Josef Cruz ได้รับการว่าจ้างงานที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่และอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว แม้ว่าก่อนที่เขาจะสรุปข้อตกลงใด ๆ เขาได้ร่าง Page แบบง่าย ๆ ที่มีฟังก์ชันที่จำเป็นให้ลูกค้าได้พิจารณาก่อนที่จะทำข้อตกลงกัน หลังจากนั้นคุณ Josef กับลูกค้าก็ได้เจรจาต่อรองราคากัน และในที่สุด ก็ได้ข้อตกลงที่เหมาะสมกับทั้งทั้งสองฝ่าย พวกเขาตกลงกันอย่างรวดเร็วที่จะเริ่มทำงานร่วมกัน

Project นี้น่าสนใจมีความพิเศษมากกว่าเว็บไซต์ธรรมดาทั่วไป เพราะเป็น Learning Portal ที่มีฟังก์ชันการทำงานที่น่าตื่นเต้น เช่น Schedule, Telegram Bot, Tests และอื่น ๆ

เมื่อมองย้อนกลับไป คุณ Josef เข้าใจถึงความผิดพลาดหลัก ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งก็คือ การไม่มี Team Lead สำหรับ Project นี้โดยเฉพาะ เนื่องจากเป็น Project ขนาดใหญ่ ซึ่งต้องการ Team Lead ที่สามารถจัดการกับกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการแบ่ง Project ออกเป็นส่วน ๆ, กำหนดลำดับงาน และจัดเตรียม Structures โดยรวมให้กับ Project

ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ มักต้องการความเชี่ยวชาญเพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจความซับซ้อนของ Project อย่างถ่องแท้ เพราะลูกค้าไม่สามารถเห็นภาพรวมทั้งหมดของ Project หรือเห็นเพียงส่วนต่าง ๆ ที่แยกจากกันเท่านั้น และอาจไม่เข้าใจว่า ส่วนต่าง ๆ นั้นจะเชื่อมต่อหรือโต้ตอบกันอย่างไร ซึ่งคำอธิบายและภาพรวมที่มีให้นั้น อาจไม่สามารถแสดงและบันทึกฟังก์ชันการทำงานทั้งหมดของ Project ได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นคำอธิบายที่ครอบคลุมมากขึ้นและการสาธิตอย่างละเอียด อาจเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ลูกค้ามีความเข้าใจแบบองค์รวมได้มากขึ้นเกี่ยวกับ Project นั้น ๆ

ในทางกลับกัน คุณ Josef ในเมื่อรู้ตัวแล้วว่า เขาต้องการทักษะและเวลาที่มากขึ้น เพื่อรวมบทบาทของ Full-Stack Developer และ Team Leader เข้าด้วยกัน เมื่อ Project มีขนาดใหญ่ขึ้น Code ก็มีความซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งการบำรุงรักษาและอัปเดตก็เป็นเรื่องที่ท้าทาย ซึ่งต้องใช้เวลามากขึ้นในการปรับโครงสร้าง (เพื่อให้การทำงาน Code ใหม่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน)

การเริ่มเกิดปัญหาเล็กๆ น้อยๆ รวมทั้งการเลื่อน Deadline ของ Project ไล่ช้าออกไป จะสร้างความยุ่งยากให้กับทั้งลูกค้าและทีมงานที่ทำงานใน Project ซึ่งส่งผลให้ Project อยู่ในสถานะที่มีความไม่แน่นอนและไม่เสร็จสมบูรณ์ แม้ว่า Project จะมีความคืบหน้าไปบางส่วนแล้ว และลูกค้าได้ชำระเงินมาบางส่วนแล้วก็ตาม แต่โดยทั่วไป Project ยังคงต้องทำให้เสร็จและสามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

คุณ Josef เริ่มหนีห่างจาก Project มากขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาเดียวกัน เขายังมีปัญหาทางการเงินและปัญหาสุขภาพอยู่บ้าง จนกระทั่งถึงจุดที่เขาไม่สามารถเปิด Project Code ที่มี Code ประมาณ 30,000 บรรทัด ได้อีกต่อไป ซึ่งสิ่งนี้สร้างความหงุดหงิดให้กับคุณ Josef เป็นอย่างมาก

และสิ่งนี้ยังทำให้ลูกค้าโกรธมาก และมีการขู่ว่า จะดำเนินการทางกฎหมายจากศาล สำนักงานอัยการ และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม คุณ Josef ไม่เข้าใจต้นเหตุของปัญหารุมเร้าเหล่านี้ เนื่องจากงานที่ได้ส่งมอบให้ลูกค้าก็เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และลูกค้าก็ได้ตรวจสอบก่อนที่จะตอบรับ Project ดังกล่าว

คุณ Josef จึงได้เสนอวิธีแก้ปัญหาเรื่องงบประมาณของ Project ให้กับลูกค้า โดยเสนอว่างบประมาณที่เหลือนั้น สามารถจัดสรรให้กับผู้เชี่ยวชาญคนอื่นที่สามารถทำงานที่เหลือให้เสร็จได้ ซึ่งหลังจากคำนวณงบประมาณแล้ว ก็น่าจะเพียงพอ แต่คุณ Josef อาจต้องเพิ่มเงินอีก 1,000 – 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจ้าง Developer คนใหม่ที่สามารถเขียน Pages ที่เหลือให้เสร็จได้

มีการจ้าง Back-end Developer สำหรับ Node.js เพื่อเพิ่ม API ที่เหลือและทำการปรับเปลี่ยนบางอย่าง รวมทั้งแนะนำให้จ้างผู้เชี่ยวชาญ React เพื่อปรับปรุง Code ที่มีอยู่ ในทางกลับกัน คุณ Josef สามารถสวมบทบาทเป็น Team Leader เพื่อดำเนิน Project ให้เสร็จสิ้นได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โชคดีที่เขาคิดมานานแล้วว่า Project ควรจะเสร็จสมบูรณ์ได้อย่างไรและต้องทำอะไร

ซึ่งบทเรียนครั้งนี้ทำให้ คุณ Josef เข้าใจอย่างชัดเจนแล้วว่า เขาทำผิดพลาดครั้งใหญ่ ในการมีส่วนร่วมใน Project และมีบทบาทที่ต้องรับผิดชอบใน Project ที่มากเกินไป ดังนั้น คุณ Josef จึงได้ตระหนักว่า การจัดสรรงบประมาณให้กับผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ถือเป็นเรื่องที่คุ้มค่า โดยให้ตนเองมีบทบาทเป็น Manager ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งเขาจะได้เงินประมาณ 15 – 20 เปอร์เซ็นต์ แบบที่ไม่ต้องเครียดและกดดันมากมายขนาดนี้

คุณ Josef กล่าวว่า เขาชอบ Project ที่มีขนาดเล็กมากกว่า Project ขนาดใหญ่ เพราะ Project ขนาดเล็ก นั้นทำได้ง่าย เสร็จเร็ว และสุดท้ายได้ค่าตอบแทนที่มากกว่า Project ขนาดใหญ่

แล้วคุณล่ะชอบ Project ขนาดใหญ่หรือเล็ก?

และทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไม? การทำงานใน Project ขนาดเล็ก ถึงดีกว่า Project ขนาดใหญ่ ซึ่งการจะบอกว่าแบบใดดีกว่ากันนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผล รวมทั้งองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องของแต่ละบุคคล และหวังว่าบทความนี้ จะมีประโยชน์สำหรับทุกท่านนะคะ

คุณสามารถ หางาน IT หรือส่ง Resume มาสมัครงานกับเราได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume ให้ ISM Technology Recruitment เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ให้คุณได้ “ชีวิตการทำงานในแบบที่คุณต้องการ”

ISM เชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการมากว่า 30 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย

Source: https://javascript.plainenglish.io/

th