#1 tech recruiter in thailand

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Kanban และ Scrum

See the original English version of this article here

Kanban Vs. Scrum

สำหรับการจัดการ Project แบบ Agile นั้น Kanban และ Scrum เป็นวิธีการยอดนิยม โดย 2 วิธีนี้นำเสนอแนวทางที่แตกต่างกันในการจัดระเบียบและดำเนินงาน แต่คุณจะตัดสินใจได้อย่างไรว่าอันไหนเหมาะกับ Project ของคุณ? มาสำรวจความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Kanban และ Scrum กันเถอะ

Agile คืออะไร

วิธีการทำงานแบบ Agile เปรียบเหมือนชุดเครื่องมือในการจัดการ Project ซึ่งประกอบด้วยแนวทางปฏิบัติและหลักการที่มุ่งปรับปรุงการส่งมอบ Project โดยจะใช้กระบวนการซ้ำ ๆ ซึ่งเน้นการทำงานเป็นทีม การได้รับและนำคำติชมกลับมาใช้ และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว วิธี Agile ที่รู้จักกันดี ได้แก่ Scrum, Kanban และ Extreme Programming (XP) โดยการแบ่ง Project ออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Iterations หรือ Sprints ทำให้ทีมสามารถส่งมอบผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอได้ง่ายขึ้น สำหรับธุรกิจที่ต้องการตามทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและแนวโน้มของตลาด การเลือกวิธี Agile ที่เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จ

มาดูความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Kanban และ Scrum ว่าอันไหนเหมาะกับ Project ของคุณ?

Kanban คืออะไร

Kanban มาจากคำภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า “กระดานหรือกระดาษ” เป็นแนวทางการจัดการ Project ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การจัดระเบียบด้วยภาพ ขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ใน Kanban งานจะแสดงเป็นการ์ดบนกระดาน ซึ่งวางลงในคอลัมน์ที่แสดงถึงขั้นตอนต่าง ๆ ของความคืบหน้า การแสดงภาพนี้ช่วยให้ทีมเห็นสถานะของงานได้อย่างง่ายดาย ส่งเสริมความชัดเจนและการทำงานเป็นทีม

คุณลักษณะที่สำคัญของ Kanban คือขีดจำกัดงานระหว่างดำเนินการ (WIP) ซึ่งจำกัดจำนวนงานในแต่ละขั้นตอนเพื่อระบุและแก้ไขปัญหา Workflow สร้างความสมดุลในการกระจายงาน และรักษาความก้าวหน้าของงาน นอกจากนี้ Kanban ยังส่งเสริมการจัดส่งอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้สามารถส่งมอบคุณค่าให้กับ User ได้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอโดยไม่ยึดติดกับกรอบเวลาที่กำหนด เนื่องจากความยืดหยุ่นและความสามารถในการรับมือกับลำดับความสำคัญที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น Kanban จึงเหมาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่ลำดับความสำคัญสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

ข้อดีของ Kanban

Workflow ที่ปรับเปลี่ยนได้แบบเรียลไทม์

ความสามารถในการปรับตัวเป็นลักษณะสำคัญของ Kanban วิธีการนี้ช่วยให้ทีมปรับตัวเข้ากับข้อกำหนดใหม่หรือความท้าทายที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากวิธีการอื่น ๆ ที่แก้ไขงานตามช่วงเวลาที่กำหนด Kanban ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยน Workflow แบบเรียลไทม์ได้ ความยืดหยุ่นนี้ช่วยให้ทีมสามารถจัดการและรับมือกับงานที่เร่งด่วนได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องจัดระเบียบใหม่

มุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

วิธีการทำงานแบบ Kanban ให้ความสำคัญกับหลักการของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทีมได้รับการสนับสนุนให้ทบทวนการปฏิบัติงานเป็นระยะ ระบุจุดที่ต้องปรับปรุง และทำการปรับเปลี่ยนที่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ กระบวนการประเมินและปรับแต่งอย่างสม่ำเสมอนี้ช่วยให้แน่ใจว่าการดำเนินงานได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องใน Project ต่าง ๆ

การแสดงภาพงานและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ชัดเจน

กระดานภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญของ Kanban โดยจะแสดงงานที่กำลังดำเนินอยู่ทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ โดยแต่ละงานจะแสดงด้วยการ์ด ซึ่งตำแหน่งของการ์ดแต่ละใบบนกระดานบ่งบอกถึงขั้นตอนในขั้นตอนการทำงาน รูปแบบภาพที่ชัดเจนนี้ช่วยให้ทีมสามารถระบุได้อย่างรวดเร็วว่างานใดกำลังดำเนินไปอย่างราบรื่นและงานใดกำลังประสบปัญหา ช่วยให้สามารถเข้าไปแทรกแซงได้ทันท่วงที เพื่อรักษาขั้นตอนการทำงานที่ราบรื่น

Scrum คืออะไร

Scrum เป็นวิธีการจัดการ Project ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยจะจัดงานออกเป็นช่วงสั้น ๆ เรียกว่า Sprints โดยทั่วไป Sprint แต่ละครั้งมักใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ ต่อไปนี้จะอธิบาย Sprints ประเภทต่าง ๆ มีดังนี้

  • Product backlog:คือรายการงานทั้งหมดที่ต้องทำ ซึ่งสร้างขึ้นก่อนเริ่ม Project โดยจะจัดอันดับงานตามลำดับความสำคัญ
  • Sprint backlog: เมื่อ Sprint เริ่มต้นขึ้น งานจากรายการนี้จะถูกเลือกและเพิ่มเข้าไป โดยจะกำหนดเป้าหมายและงานเฉพาะที่ทีมตั้งเป้าให้สำเร็จในช่วงระยะเวลานั้น
  • Daily stand-ups:คือการประชุมสั้น ๆ ทุกวัน ซึ่งทีมจะมารวมตัวกันเพื่อหารือเกี่ยวกับงานปัจจุบันและความท้าทายต่าง ๆ ที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่
  • Sprint review: การตรวจสอบผลลัพธ์ของ Sprint โดยทีมจะนำเสนอผลงานของพวกเขา ซึ่งช่วยจะให้สามารถประเมินและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าที่เกิดขึ้นได้
  • Sprint retrospective: โดยทีมต่าง ๆ จะไตร่ตรองผลงานของตนเอง และหารือเกี่ยวกับวิธีปรับปรุงกระบวนการและวิธีการทำงาน

ข้อดี ของ Scrum

การทำงานแบบ Scrum มีข้อดีหลายประการ เช่น

  • สม่ำเสมอและคาดการณ์ได้
  • การตรวจสอบเป็นประจำกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มีการกำหนดบทบาทเฉพาะไว้อย่างชัดเจน

สม่ำเสมอและคาดการณ์ได้

Sprint เป็นแนวทางที่มีโครงสร้างซึ่งช่วยให้ทีมมีจังหวะที่สม่ำเสมอในการวางแผน ดำเนินการ และทบทวนงานภายในกรอบเวลาที่กำหนด ด้วยการแบ่ง Project ออกเป็น Sprint ที่สามารถจัดการได้ ซึ่งทีมสามารถกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน จัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และติดตามความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้สามารถคาดการณ์ Timeline ได้อย่างแม่นยำ และมอบกรอบเวลาที่เชื่อถือได้สำหรับผลลัพธ์ที่คาดหวัง เพิ่มความโปร่งใสและการทำงานร่วมกันตลอดทั้ง Project

การตรวจสอบเป็นประจำกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หลักการพื้นฐานของ Scrum ประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมการสื่อสารและการทำงานร่วมกันแบบเปิด หลังจาก Sprint แต่ละครั้ง จะมีการตรวจสอบ Sprint โดยที่ทีมนำเสนอความสำเร็จของตนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและได้รับข้อเสนอแนะทันที ด้วยการบูรณาการข้อเสนอแนะนี้ช่วยให้ทีมสามารถรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นประจำ ทำให้ทีมสามารถปรับปรุงแนวทางเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายสอดคล้องกับความต้องการของ User และวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

การกำหนดบทบาทเฉพาะไว้อย่างชัดเจน

บทบาทที่แตกต่างภายใน Scrum Framework มีหน้าที่เฉพาะ โดยบทบาทหลัก 3 ประการมีดังนี้

    • Product Owner เป็นผู้ตัดสินใจทิศทางของผลิตภัณฑ์
    • Scrum Master ช่วยให้กระบวนการไหลลื่นและสามารถจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ
    • Development Team ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์

การแบ่งบทบาทที่ชัดเจนนี้ จะป้องกันความซ้ำซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่งเสริมความโปร่งใสในการสื่อสารและความรับผิดชอบ

Kanban vs. Scrum

Kanban และ Scrum เป็นวิธีการที่แตกต่างกันภายใน Agile Framework แม้ว่าทั้งสองมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลลัพธ์และการทำงานร่วมกัน แต่ทั้งสองก็มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน นี่คือข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Kanban และ Scrum

Kanban vs. Scrum

สำหรับ Agile Framework นั้น Kanban และ Scrum มีข้อได้เปรียบที่แตกต่างกันซึ่งปรับให้เหมาะกับความต้องการของ Project ต่าง ๆ โดย Kanban ให้ความสำคัญกับกระบวนการภาพและความยืดหยุ่น ซึ่งเหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรวดเร็ว

ในทางตรงกันข้าม Scrum มีลักษณะโครงสร้าง Sprints และบทบาทที่กำหนดไว้ ซึ่งส่งเสริมความสม่ำเสมอและความรับผิดชอบที่ชัดเจนภายใน Project แต่วิธีการทั้งสองมีเป้าหมายร่วมกันในการเพิ่มประสิทธิภาพและการทำงานเป็นทีม ตัวเลือกระหว่าง Kanban และ Scrum ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาด Project ขนาดทีม ลักษณะงาน และความต้องการของลูกค้า เป็นต้น

และทั้งหมดนี้ก็คือ ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Kanban และ Scrum

เมื่อ หางาน IT ให้ ISM Technology Recruitment เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย เพื่อให้คุณได้ “ชีวิตการทำงานในแบบที่คุณต้องการ” เพียงส่ง Resume มาที่นี่

ISM เชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ ได้เปิดทำการมาแล้วกว่า 30 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย

Source: https://educative-inc.medium.com/

Related Articles

วิธีสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กับ 5 กลุ่มคน ภายในทีม Agile

การทำงานแบบ Agile ทำให้คุณต้องสื่อสารกับบุคคลหลายตำแหน่ง บทความนี้จะมาพูดถึง วิธีสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กับ 5 กลุ่มคน ภายในทีม Agile

en