#1 tech recruiter in thailand

จาก Content Writer สู่ Full Stack Software Developer ใน 7 เดือน

See the original English version of this article here

How I Became A Full Stack Software Developer In 7 Months

การจะเป็น Full Stack Developer ภายในเวลาไม่ถึง 3 หรือ 4 เดือนนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย บางทีอาจมีเพียงประมาณ 1% ที่จะบรรลุเป้าหมาย แต่ส่วนที่เหลืออีก 99% อาจรู้สึกท้อแท้และล้มเลิกไปเสียก่อน โดยบทความนี้คุณ Suman Sourabh จะมาเล่าประสบการณ์ตรงของเขา กับ จาก Content Writer สู่ Full Stack Software Developer ใน 7 เดือน ซึ่งเขาได้เรียนรู้และศึกษาด้วยตนเองอีกด้วย มาดูกันว่าคุณ Suman ทำได้อย่างไร

คุณ Suman ลาออกจากงานในตำแหน่ง Content Writer ในปี 2021 และเขาจึงเริ่มเตรียมตัวสำหรับงานด้าน Web Development เนื่องจากคุณ Suman รู้สึกชื่นชอบมากที่จะมีผลงานเจ๋ง ๆ หลังจากเขียน Code เพียงไม่กี่บรรทัด

คุณ Suman เรียนอะไรมาบ้าง?

ก่อนเรียนผมบอกกับตัวเองว่าไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญไปในทางใดทางหนึ่ง เป้าหมายของผม คือการได้งานในสาขา Web Development และได้ประสบการณ์จากการได้ลงมือทำจริง ดังนั้นผมจึงศึกษาเฉพาะในสิ่งที่ทำให้ผมต้องสร้าง Coding Project และผมสามารถนำไปใส่ใน Resume ของผมได้

ดังนั้นผมจึงใช้เวลาว่างในงานก่อนหน้านี้ ศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับ Web Development ตั้งแต่เริ่มต้นในช่วงดึกของวัน ผมไปที่ MDN Web Docs  และศึกษาหาความรู้ ซึ่งทำให้ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของ Web และวิธีการทำงานต่าง ๆ และเมื่อผมเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ Web แล้ว ผมจึงมุ่งสู่การเขียน Code จริง!

Frontend Development

ผมเริ่มศึกษาภาษาในการเขียน Code ด้านล่างนี้

    • HTML
    • CSS
    • JavaScript

ผมค้นคว้าภาษาพื้นฐานของ Web อย่างถี่ถ้วน และได้เรียนรู้เกี่ยวกับ 3 ภาษาที่ระบุไว้ข้างต้น

จริง ๆ แล้วสำหรับ HTML ใช้เวลาศึกษาประมาณ 2 – 3 วันเท่านั้น มันไม่มีอะไรมาก เพียงแต่คุณต้องเริ่มต้นเท่านั้นเอง

ส่วน CSS ใช้เวลาสักระยะหนึ่ง เนื่องจากการจัดสไตล์ Web Page เป็นเรื่องที่น่าปวดหัว (แม้แต่สำหรับ Senior Developer ก็ตาม)

ต่อจากนั้นก็ JavaScript ซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาที่เกลียดและชื่นชอบมากที่สุดในเวลาเดียวกัน JavaScript นั้นกว้างใหญ่มาก มันเหมือนกับการกระโดดลงไปในมหาสมุทรเลยแหละ แม้กระทั่งตอนนี้ ผมยังศึกษา JavaScript เป็นครั้งคราว เพื่อทำความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับ Asynchronous Nature, Promises, Async/await และอื่น ๆ อีกมากมาย

ผมรู้ว่าถ้าผมต้องการโอกาสที่ดีในการได้งาน ผมจะต้องเรียนรู้ UI Framework เช่น Angular หรือ React (React เป็น Library) ด้วย แต่มันเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากเมื่อจะต้องตัดสินใจว่าจะเรียนรู้อันไหน ผมค้นคว้าข้อมูลเล็กน้อยและท้ายที่สุดก็เลือก React เนื่องจากสร้างโดย Facebook และปัจจุบันเป็น JavaScript Framework ที่ใช้กันมากที่สุด แถมมีงานมากขึ้นอีกด้วย

ดังนั้น ผมจึงมุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจ JavaScript ให้ดีเพื่อเริ่มต้นการใช้งาน React ผมศึกษา React และสร้าง Personal Portfolio Project โดยรวบรวมและแสดงรายการทักษะ การศึกษา และ Project ต่าง ๆ ของผม

จากนั้นผมได้สร้าง Project ที่ 2 คือ Movie Database ซึ่งผู้ใช้สามารถลงชื่อเข้าใช้และลงทะเบียนได้ (ระบบการตรวจสอบสิทธิ์โดยใช้ Firebase) ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังสามารถเรียกดูรายการภาพยนตร์หลายรายการตามประเภทได้อีกด้วย

ต่อมาผมได้ระบุ Project นั้นไว้ใน Resume ของผมและสมัครในตำแหน่งฝึกงาน และไม่นานผมก็ได้รับสาย! ผมนั่งสัมภาษณ์งานรอบนี้ โดยถูกถามคำถามเกี่ยวกับ Project ที่ผมทำ และในที่สุดผมก็ได้รับข้อเสนอให้ฝึกงาน! ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ผมกำลังจะเป็น Frontend Developer Intern (แต่เดี๋ยวก่อน บทความนี้เกี่ยวกับการเป็น Full Stack Developer ไม่ใช่เหรอ? ใช่แล้ว แต่ผมกำลังเล่าเส้นทางการเดินทางของผมให้คุณฟัง)

คุณ Suman เรียน Frontend มาจากที่ไหนบ้าง?

ผมเรียนรู้ Frontend ทั้งหมดนี้จากหลักสูตร Web Development 2023 Bootcamp  โดย Angela Yu บน Udemy นอกจากนี้ ผมยังได้รับความช่วยเหลือจากช่อง YouTube มากมาย เช่น  Web Dev SimplifiedFreecodecampKevin Powell (สำหรับ CSS) และช่องอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน

Backend Development

ในระหว่างการฝึกงาน 6 เดือน ผมได้รู้จัก Next.js เป็น Full Stack Framework ของ React มีความสามารถมากมาย เช่น Page Based Routing, Server Side Coding และอื่น ๆ อีกมากมาย การฝึกงานในครั้งนี้จึงทำให้ผมคุ้นเคยกับ Next.js เป็นอย่างดี

มีอยู่ช่วงหนึ่งผมได้ใช้ APIs อีกครั้ง ผมเคยใช้มันกับ Project พื้นฐานของ Movie Database ด้วย React แต่ที่นี่ผมต้องทำงานกับ Node.js และ Express ดังนั้นสำหรับ Backend ผมจึงเลือก Node.js โดยศึกษาและเรียนรู้จากวิดีโอบางส่วนและลงมือทำในเวลาว่าง จากนั้น ผมได้เรียนรู้ Express (Node.js Framework) และได้สร้าง API ตั้งแต่เริ่มต้นเลย ซึ่งมันสนุกมาก!

ในเวลาว่างระหว่างฝึกงาน ผมศึกษา Databases และพบกับ MongoDB (โดยมี SQL เหมือนกัน) แต่ผมไม่ได้เลือกเพราะไม่ได้ใช้ในองค์กร ผมศึกษาเฉพาะพื้นฐานของ MongoDb และใช้ Mongoose ซึ่งเป็น Library สำหรับ Node.js เพื่อจัดการ Databases และ Collections และด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ ผมได้สร้าง MERN Stack Project พื้นฐาน ซึ่งสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างง่ายดาย สามารถเพิ่มและการลบข้อมูลบางส่วน

ในช่วงเวลาประมาณ 7 เดือน โดยพื้นฐานแล้วผมเป็น Full Stack Developer ซึ่งทำงานใน React, Next.js, Node.js และ Express

สุดท้ายนี้ คุณ Suman ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า หากคุณต้องการเป็น Full Stack Developer อย่าคิดมากและเริ่มลงมือเขียน Code เลย! เลือกภาษาและเขียน Code ทีละบรรทัด เขียนต่อไป! เขียนต่อไปจนกว่าคุณจะได้สร้าง Project ต่าง ๆ และมั่นใจในสิ่งนั้น

“ยิ่งคุณเขียน Code และสร้าง Projects จริงมากเท่าไร (แทนที่จะอ่านเพียงแค่ทฤษฎี) คุณก็จะยิ่งเรียนรู้มากขึ้นเท่านั้น!”

และทั้งหมดนี้คือ จาก Content Writer สู่ Full Stack Software Developer ใน 7 เดือน หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกท่านนะคะ

เมื่อ หางาน IT ให้ ISM Technology Recruitment เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย เพื่อให้คุณได้ “ชีวิตการทำงานในแบบที่คุณต้องการ” เพียงส่ง Resume มาที่นี่

ISM เชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ ได้เปิดทำการมาแล้วกว่า 30 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย

Source: https://medium.com/

Related Articles

Career Roadmap สำหรับ Software Developer

ในฐานะ Developer มือใหม่ คุณอาจสับสนว่า ตำแหน่งประเภทใด ที่คุณอาจมีคุณสมบัติสมัครงานได้ มาดู Career Roadmap สำหรับ Software Developer

en